วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ


กิจกรรมที่ 3
                       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
         บรรดากฎหมายที่ประกาศใช้บังคับนั้น อาจแบ่งออกได้สองระดับ คือ กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติหรือเทียบได้กับพระราชบัญญัติ (เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชกำหนด เป็นต้น) และกฎหมายลำดับรอง  กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ มีชื่อเรียกในระหว่างผู้ร่างกฎหมายว่า กฎหมายแม่บท” (Parent Law) หรือบางแห่งก็เรียกว่า Primary Law แปลเป็นไทยคงจะได้ว่า กฎหมายปฐมภูมิ ส่วนกฎหมายลำดับรอง (Subordinate Legislation) เราเรียกติดปากว่า กฎหมายลูกบทกฎหมายลูกบทอาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันได้ เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ที่เรียกกันอย่างนี้ก็คือ กฎหมายลูกบทจะตราขึ้นหรือออกมาได้นั้นต้องมีกฎหมายแม่บทให้อำนาจเสียก่อน เช่น พระราชบัญญัติฉบับหนึ่งกำหนดว่าการออกใบอนุญาตและการเก็บค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เหตุที่ต้องมีกฎหมายลูกบทเนื่องจากว่า บางครั้งกฎหมายมีรายละเอียดมาก การเขียนทุกอย่างไว้ในพระราชบัญญัติแม่บทนั้นย่อมทำไม่ได้หรือไม่เหมาะ เช่น จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตในพระราชบัญญัติ ก็คงจะยืดยาด และฝ่ายนิติบัญญัติผู้พิจารณาย่อมต้องเสียเวลามาก หรือเขียนได้แต่ก็จะแข็งตัวไม่สามารถปรับใช้กับสถานการณ์ได้
         การออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียม มีว่า มาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจที่จะออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีย่อมออกกฎกระทรวงโดยอาจเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมแตกต่างกันสำหรับการดำเนินการให้แก่กิจการต่าง ๆ ได้ เช่น การดำเนินกิจการบางลักษณะอาจได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมให้เสียต่ำกว่าที่เรียกเก็บทั่วไป แต่การที่จะออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่บุคคลบางประเภทโดยไม่เก็บเสียเลยนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น เมื่อพระราชบัญญัติชื่อบุคคลฯ มิได้บัญญัติให้อำนาจแก่รัฐมนตรีไว้ จึงไม่อาจออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่บุคคลบางประเภทตามที่ประสงค์ได้ เพราะจะเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายแม่บท (เรื่องเสร็จที่ ๓๔๐/๒๕๓๕- คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๖) และเรื่องเสร็จที่ ๑๐/๒๕๐๘- คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๖) และเรื่องเสร็จที่ ๒๔๖/๒๕๒๗-คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๑) วินิจฉัยอย่างเดียวกัน)
  2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
  มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามมาตรานี้เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายทั่วไปที่เป็น อุดมการณ์ของการศึกษา หรือปรัชญาการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในมิติต่างๆ ที่ถือว่าสำคัญทางการศึกษา ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมและเนื่องจากจุดเน้นในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดการแปลความไปได้ว่ามุ่งพัฒนา "ปัจเจกบุคคล" เพียงด้านเดียว ฉะนั้นจึงได้กำหนดต่อไปว่า การพัฒนาดังกล่าวนั้นมุ่งให้คนไทย "มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข" การเพิ่มมิติด้านสังคมนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่มีความสมดุลระหว่างส่วนบุคคลและส่วนรวม
มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นประมุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ถูมิปัญญาไทย และความรู้ อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง  มาตรา 7 เป็นการกำหนดรายละเอียดของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนการสอน ตามนโยบายของรัฐ และเหมาะกับสภาพของสังคมไทย จุดมุ่งหมายในมาตรา 7 นี้จึงเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่อาจสามารถประเมินได้ และร่างโดยคำนึงถึงปรัชญาการเมือง และวัฒนธรรมไทย หรือความปารถนาของสังคมไทยที่อยากให้คนไทยมีบุคลิกลักษณะประจำชาติอย่างไร
 มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้
          (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
          (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
          (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
          หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดไว้ 3 ข้อ ซึ่งจำเป็น
ต้องขอขยายความดังนี้
          1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
            หลักการนี้มีความเป็นมาสืบเนื่องจากการจัดประชุมระดับโลกขององค์การยูเนสโก
ธนาคารโลก และองค์การยูนิเซฟร่วมกับรัฐบาลไทย ที่หาดจอมเทียน เมื่อ พ.ศ.2532  คำประกาศจอมเทียน ซึ่งดังกึกก้องไปทั่วโลกคือคำว่า "Education for All" และ "All for Education" ซึ่งอาจแปลว่า "การศึกษาเพื่อปวงชน" และ "ปวงชนเพื่อการศึกษา" โดยคำว่า ปวงชน หมายถึง ประชาชนทั้งหมดในประเทศ แต่การที่จะเขียนในเชิงสำนวนเช่นนั้น อาจไม่เหมาะกับภาษาเชิงกฎหมาย จึงต้องปรับภาษาให้ง่ายต่อการแปลความตามกฎหมาย
          ฉะนั้น หลักการข้อที่ 1 จึงหมายความตามตัวอักษรว่า รัฐจะต้องจัดหรือส่งเสริมให้
เอกชนและทุกๆส่วนในสังคมได้จัดการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน การจัดการศึกษา
ตลอดชีวิตจะจัดอย่างไรเป็นเรื่องของยุทธศาสตร์การจัด แต่อุดมการณ์ใหม่ของการจัดการ
ศึกษา คือ มุ่งการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และจะเกิดการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างจริงจัง
หรืออย่างมีประสิทธิภาพก็จะต้องมีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี ให้แก่
ประชาชนเป็นเบื้องต้นก่อน หลักการศึกษาพื้นฐานจึงเป็นหลักการและกระบวนการเบื้องต้น
ที่พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับนี้เน้นเป็นพิเศษ
          2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
               หลักประการที่ 2 นี้ ก็คือหลัก "All for Education" ดังที่กล่าวมาแล้ว แนวทางปฏิรูปของพระราชบัญญัติฉบับนี้ นอกจากนำเอามาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญมาพิจารณาแล้วยังกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังวางเงื่อนไขให้องค์กรชุมชน องค์กรต่างๆ ในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัด ตลอดจนกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีของการสื่อสารเพื่อการศึกษา เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
          3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
            หลักประการที่ 2 นี้ ต้องการจะพูดถึงคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งของการปฏิรูป หลักการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาคุณภาพการศึกษาไทยจะล้าหลังประเทศอื่นก็เพราะเราไม่จัดระบบของเราให้เกิดการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
         จากการกำหนดหลักการ 3 ประการนี้จึงได้กำหนดมาตรการต่างๆ ในพระราชบัญญัติเพื่อวางเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงตามหลักการของมาตรา 8 และตามจุดมุ่งหมายของมาตรา 6 และ 7 ตลอดจนอนุวัตามหลักของการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการตามมาตรา 9
    มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้
          (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
          (2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          (3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
          (4) มีหลักการส่งเสริมวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนา
ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
          (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
  (6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครองครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
          หลักการ 6 ประการในมาตรา 9 เป็นหลักของการปรับระบบและโครงสร้างของการบริหาร
จัดการทางการศึกษาตามปฏิรูป อาจจะกล่าวได้ว่า คุณภาพ และประสิทธิภาพของการศึกษาจะต้อง
ยืนอยู่บนเสาหลัก 4 ประการ คือ
          1. การจัดระบบการบริหาร ให้เกิดเอกภาพทางนโยบาย แต่กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่
และสถานศึกษาโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
          2. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในรูปแบบใหม่
          3. ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชั้นสูง และการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง
          4. จัดระบบการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
          ยุทธศาสตร์ 4 ตัวนี้ กำหนดไว้ในหลักการ 6 ประการดังกล่าวในมาตรา 9
  3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
          มาตรา 9
         1. ฝึกคิดฝึกทำอย่างสมดุล  ( Thinking Skills )      คือ  กระบวนการคิดเป็น   เป็นการแสดงศักยภาพของมนุษย์ ในการชี้นำชะตาชีวิตของตนเอง ในการพยายามปรับตนเอง และสิ่งแวดล้อมให้ผสมกลมกลืนกัน ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่  ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ เพื่อเป้าหมายที่สำคัญ คือ การมีความสุข
          2. เพิ่มพูนจิตสาธารณะ ( Public Mind )  คือ การฝึกให้จิตใจทำหน้าที่รู้คิด และนึกกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและประชาชนทั่วไป เช่น มีจิตอาสาช่วยทำงานให้ผู้อื่น ช่วยดูแลรักษาทรัพย์สมบัติส่วนรวม เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
          3. ให้อิสระจินตนาการ  (Imagination)   จินตนาการ ก็คือ การสร้างภาพในใจนั่นเอง  ไอน์สไตน์เคยกล่าวว่า จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้จึงได้ใช้สมองของเขาเป็นห้องทดลองค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ  ในทางพุทธศาสนา  การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็ก่อรูปขึ้นมาจากการได้รับแรงบันดาลใจ  แล้วจึงตามมาด้วยจินตนาการเช่นกัน   ดังนั้นการสร้างภาพในใจเก่งก็ทำให้เรียนเก่งได้ วิธีจัดการเรียนการสอนแบบให้คิดย้อนกลับ จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้เกิดพัฒนาการในการเรียนรู้ได้อย่างก้าวกระโดดทีเดียว
         4. ยึดโยงคุณภาพมาตรฐาน ( Standards &Backward Design ) คือ การใช้การศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพของคน  ให้มุ่งสู่คุณลักษณะที่สังคมพึงประสงค์  ตามเกณฑ์คุณภาพที่หน่วยงานหรือองค์กรได้ร่วมกันกำหนดไว้  ซึ่งจำเป็นต้องมีกลไกการรักษาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จากหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กรที่เชื่อถือได้ จึงจะได้รับการยอมรับคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล
        5. อ่านเขียนคิดเลขคล่อง ( Literacy & Numeracy )  คือ  คุณภาพของเด็กไทยในอนาคตที่กระทรวง ศึกษาธิการ  กำหนดให้พัฒนาผู้เรียนทุกคนให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดย สพฐ. กำหนดจุดเน้น ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น  ซึ่งเป็นพื้นฐานในการอ่านเขียนคิดเลขคล่อง และใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
        6. สื่อสารสองภาษา ( International Languages )  เป็นทิศทางในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสู่มาตรฐานสากล  โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) : เป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารได้สองภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่น ไ ในการสื่อสารได้ดี
        7. พัฒนาทักษะ ICT อย่างเท่าทัน ( ICT Skills)  คือ  การพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงาน เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปใช้ในการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเกิดประสิทธิผลในการศึกษาเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
        8. ครบครันสมรรถนะด้านอาชีพ (Occupational Skills)  คือ ความรู้ ทักษะ และความสามารถของมนุษย์ ที่แสดงผ่านพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดผลสำเร็จและมีผลงานยอดเยี่ยมในการปฏิบัติงานหนึ่ง ๆ ซึ่งนำไปสู่การประกอบอาชีพให้มีความเจริญก้าวหน้าในอนาคต
        9. ส่องประทีปสู่อาเซียน (ASEAN Readiness )  เป็นการเตรียมความพร้อมและมุ่งสร้างความตระหนักรู้ ในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนของประชาคมอาเซียน พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน 3 ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา โดยขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน มีการเพิ่มครูที่จบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อให้นักเรียนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่างประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของประเทศในประชาคม
 4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
          พระราชบัญญัติฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
       การจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

สำหรับเรื่องการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุก ระดับและประเภท
4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
         บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- บุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ หรือมีร่างกายพิการ หรือมีความต้องการเป็นพิเศษ หรือผู้ด้อย
โอกาสมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
- บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาทั้งภาคบังคับ และนอกเหนือจากภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว
- บิดามารดา บุคคล ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมที่สนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณีดังนี้
- การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรหรือผู้ซึ่งอยู่ใน
ความดูแล รวมทั้งเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา
หมวด 3 ระบบการศึกษา
        การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาจัดได้ทั้งสามรูปแบบ และให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา และ
ระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา ให้มีการศึกษาภาคบังคับเก้าปี นับจากอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก หรือเมื่อสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
- สำหรับเรื่องสถานศึกษานั้น การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดใน
       1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
       2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ เอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันศาสนา
       3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
- การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือ หน่วยงานทื่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถาน ศึกษาของเอกชน สถาน
ประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษา เฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงานนั้นได้โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา
      การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคน สามารถเรียนรู้และพัตนาเอง
ได้ ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษาทั้งสามรูปแบบในหมวด 3 ต้องเน้นทั้งความรู้ คุณธรรม และ กระบวนการเรียนรู้ ในเรื่องสาระความรู้ ให้บูรณาการความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ ละระดับการศึกษา ได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านศาสนา ศิลป วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ด้านภาษา โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ ด้านการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับ ความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งให้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล และปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา
       นอกจากนั้น ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยังต้องส่งเสริมให้ผู้สอน จัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงาน และการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ การประเมินผลผู้เรียน ให้สถานศึกษาพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความ ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ส่วนการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ประกอบด้วย หลักสูตรการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ต้องมีความหลากหลาย โดยส่วน กลางจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นความเป็นไทยและความเป็นพลเมืองดี การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อและให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะของสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนสังคมและประเทศชาติ สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มเรื่องการพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสังคมศึกษา
หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
       ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐแบ่งเป็นสามระดับ คือ ระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อเป็นการกระจายอำนาจลงไปสู่ท้องถิ่น และสถานศึกษาให้มากที่สุด
       1.1 ระดับชาติ  ให้มีกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่ กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทรวมทั้ง การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาสนับสนุนทรัพยากรรวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีองค์กรหลักที่เป็นคณะ บุคคลในรูปสภาหรือคณะกรรมการสี่องค์กร คือ สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม
. มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐ มนตรีและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
. ให้สำนักงานของทั้งสี่องค์กรเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการแต่ละองค์กร ประกอบด้วยกรรมการ โดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน มีเลขาธิการของแต่ละสำนักงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ
. สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติ นโยบายและแผนด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม การสนับสนุนทรัพยากร การประเมินผลการจัดการศึกษา การดำเนินการด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวง
. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
. คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง
. คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายและแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล ดำเนินการจัดการศึกษาและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ
       1.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอุดมศึกษาระดับต่ำ กว่าปริญญา ให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา และจำนวนประชากรเป็นหลัก รวมทั้งความเหมาะสมด้านอื่นด้วย ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา ประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู และผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู ผู้นำทางศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนาศิลปวัฒนธรรม โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
       1.3 ระดับสถานศึกษาให้แต่ละสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับ ต่ำกว่าปริญญา มีคณะกรรมการสถาน
ศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาและจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์
คณะกรรมการสถานศึกษาประกอบด้วย ผู้แทน ผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปก
ครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ให้กระทรวงกระจายอำนาจ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษาฯ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภทตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น เพื่อเป็นการรองรับสิทธิและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อม รวมทั้งประสานและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาได้
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
         สถานศึกษาเอกชนเป็นนิติบุคคลจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภท มีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่าและผู้ทรงคุณวุฒิ การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติดตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ รวมทั้งรัฐต้องให้การสนับสนุนด้านวิชาการและด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี รวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่นตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การกำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาของรัฐของเขตพื้นที่การศึกษา หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้คำนึงถึงผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของเอกชน โดยให้รับฟังความคิดเห็นของเอกชน และประชาชนประกอบการพิจารณาด้วย ส่วนสถานศึกษาของเอกชนระดับปริญญา ให้ดำเนินกิจการโดยอิสระภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

                                       หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
         ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกับคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้าปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินและจัดให้มีการประเมินดังกล่าว รวมทั้งเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกไม่ได้มาตรฐานให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ จัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต้นสังกัด ให้สถานศึกษาปรับปรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการ ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ รายงานต่อคณะกรรมการต้นสังกัด เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
         ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยรัฐจัดสรรงบประมาณและกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ฯลฯ ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นองค์กรอิสระมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชน ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ ยกเว้น ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย จัดการศึกษาในศูนย์การเรียน วิทยากรพิเศษ และผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษาให้ข้าราชการของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ตามหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่ ขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาการผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายเฉพาะของสถานศึกษานั้น ๆ
หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
       ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นและต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษา โดยให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมและให้แรงจูงใจ รวมทั้งใช้มาตรการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่น รวมทั้งหารายได้จากบริการของสถานศึกษาที่ไม่ขัดกับภารกิจหลักอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐได้มา ทั้งจากผู้อุทิศให้หรือซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษา ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา บรรดารายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ ของสถานศึกษาของรัฐดังกล่าว ไม่เป็นรายได้ที่ต้องส่งกระทรวงการคลัง
ให้สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล สามารถนำรายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ มาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถาบันนั้น ๆ ได้ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนดให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา โดยจัดสรรให้ผู้เรียนและสถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในรูปเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคล กองทุนประเภทต่าง ๆ และทุนการศึกษา รวมทั้งให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณการจัดการศึกษาด้วย
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
       รัฐจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษา การทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยจัดให้มีเงินสนับสนุนและเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ อันจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการ ด้านสื่อสารมวลชขน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
บทเฉพาะกาล
1. นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
        - ให้กฏหมาย ข้อบังคับ คำสั่ง ฯลฯ เกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒน  ธรรมเดิมที่ใช้อยู่ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป จนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี
         - ให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาที่มีอยู่ ยังคงมี ฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิมจนกว่าจะจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปี         
         - ให้ดำเนินการออกกฎกระทรวง เพื่อแบ่งระดับและประเภทการศึกษาของการ ศึกษาขั้นพื้นฐานรวมทั้งการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี
 2. ในวาระเริ่มแรก มิให้นำ
         - บทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี และการศึกษาภาค บังคับเก้าปี มาใช้บังคับ จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี นับจากวันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ และภายในหกปี ให้กระทรวงจัดให้สถานศึกษาทุกแห่ง มีการประเมินผลภายนอกครั้งแรก
        - นำบทบัญญัติในหมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา และหมวด 7 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการ ศึกษามาใช้บังคับจนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปี         
         - ทั้งนี้ขณะที่การจัดตั้งกระทรวงยังไม่แล้วเสร็จให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ออกกฎกระทรวงระเบียบ และประกาศเพื่อปฏิรูปตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน รวมทั้งให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  ทำหน้าที่กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี         
    3. ให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เป็นองค์การมหาชนเฉพาะกิจ ทำหน้าที่         
         - เสนอการจัดโครงสร้าง องค์กร การแบ่งส่วนงาน ตามสาระบัญญัติในหมวดที่ว่า ด้วยการบริหารและการจัดการศึกษา การจัดระบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การจัดระบบทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา
         - เสนอร่างกฎหมาย และปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้         
         - ตามอำนาจหน้าที่อื่นที่กำหนดในกฎหมายองค์การมหาชน
        4. คณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษามีเก้าคน
       ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการ  ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารการศึกษา การบริหารรัฐกิจ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณการเงินและการคลัง กฎหมายมหาชน และกฎหมายการศึกษา ทั้งนี้ ต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมิใช่ข้าราชการหรือผู้ปฎิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ไม่น้อยกว่าสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการและเลขาธิการมีวาระการตำแหน่งวาระเดียว เป็นเวลาสามปี
  5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
มาตรา 10 
         การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ  การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้นในวรรคแรกเขียนตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ แต่เติมคำว่า "โอกาส" ไว้ด้วย  ซึ่งเกินรัฐธรรมนูญ เพราะโอกาสจะให้มากกว่าสิทธิแต่ในมาตรานี้คำว่า "โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ก็ยังไม่ได้รับการตีความว่าหมายความว่าอย่างไร จะต้องไปให้คำจำกัดความต่อไปในขั้นปฏิบัติ วรรคที่สอง อาจมีความคลุมเครือในประเด็นความบกพร่องทางสังคมแต่ถ้าสามารถอธิบายได้ว่าความบกพร่องทางสังคม เช่น เกิดมาในชุมชนที่ยากจน เป็นต้น ส่วนที่ "บุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล" ก็คือผู้ที่ขาดพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง ประเด็นที่ถูกเถียงกันก็คือคำ "แรกเกิด" กับ "แรกพบ" คำหลังอาจจะชัดเจนกว่า "แรกเกิด" อาจจะทำให้ทราบยากว่าใครทุพพลภาพ (ทางจิตใจ) หรือสติปัญญา จนกว่าจะมาค้นพบภายหลัง แต่การตีความกฎหมายคงต้องดูเจตนา ผู้เขียนคงต้องการเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 สถานการณ์ คือ แรกเกิดในกรณีที่ทุพพลภาพทางร่างกาย "แรกพบ" ในกรณีที่ทุพพลภาพในด้านจิตใจ สติปัญญา วรรคที่สามของมาตรานี้ ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหมายถึงเด็กที่มีสติปัญญาเลิศหรือมีความสมารถเป็นพิเศษก็จะต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ
มาตรา 11
       บิดา มารดาหรือผู้ปกครองที่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษา
ภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
มาตรา 12
          นอกเหนือจากรัฐ เอกชน ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงาตรา 12 นี้ คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา" และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา8ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้ ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
มาตรา 13
       บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
          (1) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
          (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
          (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา 14
       บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
          (1) การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
          (2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
          (3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด ในมาตรา 14 วรรคหนึ่งนี้ เติมคำว่า "ตามควรแก่กรณี" นั้นเพื่อแยกแยะในประเด็นที่ว่า หากผู้ใดมีส่วนจัดการศึกษาก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 3 ข้อได้ แต่ถ้าผู้ใดมีส่วน "สนับสนุน" เช่นบริจาคทรัพย์ก็อาจได้สิทธิประโยชน์เฉพาะข้อ 3
   6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
       ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้น และขั้นตอนของการศึกษา ประเภทของการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอนระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันมักจะเรียกย่อๆ ว่า ระบบ 6-3-3  หมายความว่ามีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับ ชั้น)  การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น)และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
          นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  ส่วนการศึกษาตามอัธยาศัย (การเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือตามอัธยาศัย)  ยังไม่ได้นำมาพิจารณาอย่างจริงจัง ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน  แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning"  ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง3 รูปแบบ  และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ   ประการที่สอง ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี  ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และปริญญา ส่วนประเภทการศึกษานั้นยังคงเปิดกว้างไว้ เช่น อาชีวศึกษา เป็นต้นสำหรับการศึกษาผู้ใหญ่ และการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education)  ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาตลอชีวิตมาตรา 15
การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
          (1) การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลา
ของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
          (2) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของ
การสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
          (3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล  ประสบการณ์  สังคม  สภาพแวดล้อม  สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ  สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม  รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบตามอัธยาศัย  การฝึกอาชีพ  หรือจากประสบการณ์การทำงาน ในมาตรานี้ใช้คำว่า การศึกษามี 3 รูปแบบ  แต่ในต้นตอของแนวคิดนี้ใช้คำว่า "System"คือ "ระบบ"  ได้แก่  "Formal Education System" หรือบางครั้งใช้คำว่า"Formal School System"  ซึ่งคำหลังนี้น่าจะถูกต้องมากกว่า  และตามมาด้วยคำว่า "Nonformal Schooling System"  และคำ "Informal Education System"อย่างไรก็ตามแนวคิดของ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถือว่าทั้ง 3 ระบบนี้คือ รูปแบบของการจัดการเรียนการสอน  และจะส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ  แต่จะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ไม่บังคับและจะให้มีระบบการเทียบโอนซึ่งคงไม่ง่ายอย่างที่คิด  คงต้องมีหลักเกณฑ์การพิจารณา  เพื่อไม่ให้ เกิดความลักลั่นระหว่างสถานศึกษาต่างๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดมาตรฐานการศึกษาอาจจะต้องคิดหลักเกณฑ์การเทียบโอนนี้ให้สถานศึกษานำไปเป็นแบบของการเทียบโอน
มาตรา 16
         การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษาการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญาการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า "การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย"  ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา  ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วเป็นการให้ความสำคัญแก่การศึกษาระดับนี้ที่ถือกันว่าเป็นกำลังคนระดับกลางและพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยนั้น  ตามแนวโน้มใหม่จะแบ่งเป็นระดับปริญญาตรี  และหลัง
ปริญญาตรี  เพื่อยกระดับความสำคัญของการวิจัยค้นคว้า การสร้างองค์ความรู้ในระดับปริญญาโท-เอก  จะได้จำแนกภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  แต่เพื่อความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ก็ยังคิดตามแนวเดิมว่าระดับปริญญามีเพียงระดับเดียว คือ ปริญญาโทร-เอกรวมกัน
มาตรา 17
       ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียน แต่เป็นสิทธิ ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือจะกำหนด 9 ปีตั้งแต่เมื่อไหร่ก็คงจะหนีไม่พ้นตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1  หรือจะเรียกชื่ออย่างอื่นก็ได้  และคงบังคับเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้นตามระบบเดิม
มาตรา 18
การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
          (1)  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา  ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ  หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
          (2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่น
        (3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน  บุคคลครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  โรงพยาบาล  สถาบันทางการแพทย์  สถานสงเคราะห์และสถาบันสังคมอื่น เป็นผู้จัด

 มาตรา 18
         ขยายความคำว่า สถานศึกษาให้ครอบคลุมทั่วถึง รวมถึงโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนาด้วย  และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
มาตรา 19
          การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบันวิทยาลัย  หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา  กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 20
        การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ  สถานศึกษาของเอกชน  สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 2
        กระทรวง  ทบวง  กรม  รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐอาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
 7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
มาตรา 22
         การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 22 ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่า ต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอนเพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้  และการตีความ  นอกจากนั้นในปรัชญาการเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียนและการสอนของครูมาตรา 22  จึงกล่าวอย่างเป็นกลางๆ ไว้โดย "ถือว่าผู้เรียนไม่ความสำคัญที่สุด"
มาตรา 23
        การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
           (1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง  และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัวชุมชน ชาติ และสังคมโลก  รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          (2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ  การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
          (3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมปัญญา
          (4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
          (5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา 24
       การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
          (1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
         (2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
          (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
          (4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
          (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่วิทยาการประเภทต่างๆ
     (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 25
       รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์  สวนสัตว์  สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์  อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ  แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
          มาตรานี้จะช่วยส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต  ซึ่งรวมความถึงการศึกษาต่อเนื่องในความหมายเดิมของระบบการศึกษานอกโรงเรียน ฉะนั้น การจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ (ต่อเนื่อง) จึงกระทำได้ในชุมชนต่างๆ
มาตรา 26
        ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  การสังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตาความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษ ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา 27
       ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ  การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
          ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
          มาตรา 27 กำหนดผู้รับผิดชอบจัดทำหลักสูตรไว้เป็น 2 ระดับ  ระดับชาติให้คณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลาง  ส่วนระดับท้องถิ่นให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำ
สาระหลักสูตรที่เกี่ยวกับท้องถิ่น
          การจัดทำหลักสูตรของสองส่วนนี้  เป็นการเสริมซึ่งกันและกัน  การสอนหลักวิชาตามหลักสูตร
แกนกลางนั้นสามารถนำเอาเนื้อหาสาระของท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนประกอบได้เสมอ  ไม่ว่าจะเป็น
วิชาประวัติศาสตร์ ที่มุ่งหมายให้นักเรียนเข้าใจประวัติความเป็นมาของชุมชนของตนเอง และ
ของชาติ  หรือการสอนวิชาชีพก็จะสามารถนำข้อมูลอาชีพในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบของการเรียนการสอน จุดหมายของหลักสูตรแกนกลาง "เพื่อความเป็นไทย" นั้น ก็หมายถึงความเป็นไทยในลักษณะ
ที่มีเอกลักษณ์จากชาติอื่น  ฉะนั้น ความเป็นไทยในความหมายนี้รวมถึงวัฒธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกๆ แห่งที่ปรากฏในอาณาจักรไทยปัจจุบัน
มาตรา 28
      หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลายทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพสาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษระในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ  วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม

มาตรา 29
       ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เอกชน  องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จัดเลือกสรรภูมิปัญหาและความต้องการรวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา 30
       ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา         
   8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
       พรบ.การศึกษาแห่งชาติ  (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553  ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  วันที่ 22 กรกกฎาคม 2553 มีผลบังคับใช้ 23 กรกฏาคม 2553
สาระสำคัญ
1. การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมอื่น
 2. แบ่งเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
3. การกำหนดให้โรงเรียนใดอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งการกำกับดูแล ประสาน ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

   9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
เห็นด้วย  เพราะสามารถกระจายอำนาจตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบจากผู้บริหารสถานศึกษาไปยังบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายงาน  โดยให้ผู้รับผิดชอบมีอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการดำเนินงานทั้งฝ่ายงานบริหารวิชาการ  ฝ่ายงานบริหาร  งบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคล ฝ่ายงานบริหารทั่วไป  เป็นการจัดการศึกษาโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ  หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและหลักการบริหารจัดการที่ดี  ดำเนินในรูปของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน  กระบวนการปฏิบัติ  กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการจัดการการศึกษา
   10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
เห็นด้วย เพราะ เป็นการกำหนดสิทธิขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ  แต่วางเงื่อนไขเรื่องความพร้อม ความเหมาะสมไว้ด้วย  ซึ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องความเหมาะสม
ได้กล่าวไว้ในมาตรา 42 มาตรา 42 ให้กระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา  รวมทั้งการเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
   11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
หมวด 1 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
       ข้อที่ 2  ให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้เกี่ยวข้องว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
 (1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
 (2) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
 (3) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
 (4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
 (5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
 (6) การประเมินคุณภาพการศึกษา
 (7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
 (8) การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
 การดำเนินการตามวรรคสอง ให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด
หมวด 2 หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
 ข้อ 3 ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
 ข้อ 4 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
 (1) กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
 (2) กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษภายในสถานศึกษา
 (3) เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวน และรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
 ข้อ 5 ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา
 ข้อ 6 ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 ข้อ 7 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
 (1) เป็นแผนที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความจำเป็นอย่างเป็นระบบ และมีแผนปฏิบัตการประจำปีรองรับ
 (2) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
(3) กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
 (4) กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
 (5) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
 (6) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
 (7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
 ข้อ 8 ให้สถานศึกษาดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
 ข้อ 9 ให้คณะบุคคลตาม ข้อ 4 (3) ดำเนินการตรวจสอบ ทบทวน และรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
 ในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม โดยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
 ข้อ 10 ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน
 ข้อ 11 ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 10 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
 ข้อ 12 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริม สนับสนุน และร่วมดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้
 (1) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
 (2) จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปีหรือเป็นรายภาค
 (3) จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน
 ข้อ 13 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ
 ข้อ 14 ให้หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
 ข้อ 15 ในวาระเริ่มแรก ที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้บรรดาอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอำนาจของหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด
   12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
เห็นด้วยที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพเพราะเป็นกาส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต  การพัฒนาครู  คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง  โดยการกำกับและประสานให้สถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู  คณาจารย์  รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง
13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ดิฉันมีแนวคิดว่า การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดัมาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณการเงินและทรัพย์สิน  ทั้งจากรัฐ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  บุคคล  ครอบครัว  ชุมชนองค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการสถาบันสังคมอื่น  และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษานี้
          มาตรา 59  ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแลบำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่น รวมทั้งจัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษา และเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบาย วัตถุประสงค์และภารกิจหลักของสถานศึกษา  บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล  รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ราชพัสดุ   เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาและเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
     การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่า  ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้คนไทยได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันและเข้าถึงการเรียนรู้  โดยยึดหลักการสร้างชาติสร้างคนและสร้างงาน มีปัญญาเป็นทุนในการสร้างงานและสร้างรายได้ ตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การบริหาร ของนายกรัฐมนตรี (พ ต ท.ทักษิณ ชินวัตร) เข้ามาบริหารประเทศ พร้อมทั้งได้กำหนดนโยบายเร่งรัดในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อการศึกษา  ปัจจุบันการดำเนินงานตามพันธกิจสำคัญได้มีความก้าวหน้าตามลำดับอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม  ปัจจุบัน มีการกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษาจัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างทั่วถึง มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ICT ที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน เป็นนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อันเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีให้บังเกิดผลตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อไป