วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550


กิจกรรมที่ 2
       ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา   คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล   รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ความเสมอภาค
มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา ๔๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
1. การศึกษามีกี่รูปแบบ
2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
3. ผู้ปกครองต้องจัดให้บุคคลซึ่งอยุ่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับกี่ปี
4. รัฐธรรมนูญปัจจุบันมีกี่หมวดกี่มาตรา
5. รัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นบันที่เท่าไร
6.ประธานกรรมการคณะกรรมการสภาการศึกษาคือ
7.ผู้แต่งตั้งประธานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) คือใคร
8. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู ฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม คือ พ.ศ.ใด
10. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯฉบับที่ 2 มีผลใช้บังคับเมื่อใด

.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
    เพื่อความเข้าใจอันดีในเรื่องนี้ จำเป็นต้องมีความถึงปฐมเหตุที่มนุษย์ไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ มนุษย์มีเหตุมีผล มีความอยากรู้อยากเห็น อยากรู้ว่าทำไมและอย่างไร คำอธิบายเกี่ยวกับสภาพธรรมชาติของมนุษย์และความจำเป็นที่มนุษย์เพื่อให้มนุษย์และมนุษย์สามารถนำไปปกครองสิทธิเสรีภาพของเราได้ ในชีวิตประจำวัน

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
      รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะที่ได้ผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ ปรับปรุงแก้ไข และลงประชามติจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง แต่จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นมาตลอดในช่วง 34 ปีที่ผ่านมา ทางออกหนึ่งของปัญหาที่พูดถึงกันมากในสังคม คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว โดยต่างฝ่ายก็ต่างแสดงเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป
       ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฎิรูปการเมืองและการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีข้อเสนอต่อรัฐบาลให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ ที่ยังเป็นประเด็นปัญหาใน 6 ประเด็นหลัก ดังนี้
1.การทำสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (มาตรา 190)
 2. ที่มาของ ส.ส. (มาตรา 93 -98)
3. การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265)
4. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 266)
5. ที่มาของ ส.ว. (มาตรา 111 121)
6. การยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง (มาตรา 237)

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
       การสร้างดุลถ่วงระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารเป็นความจำเป็นที่จะต้อง ทำให้มีขึ้น หากปล่อยให้รัฐสภาตกอยู่ในภายใต้การครอบงำและแทรกแซงของรัฐบาลไป เรื่อยๆ สุดท้ายรัฐสภาก็จะหมดความสำคัญ ซึ่งนอกจากจะขัดต้อเจตจำนงของการมีรัฐสภา แล้ว ยังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอีกด้วย เพราะโดยหลักแล้ว รัฐสภาต้องควบคุม รัฐบาลให้ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้ ประชาชนก็จะเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อขับไล่เอง และในที่สุด รัฐสภาก็จะอยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรีแกล้งยุบสภาหรือไม่ก็ถูกทหารเข้าปฏิวัติ ยึดอำนาจ





วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กฎหมายการศึกษา (Education Laws)


กฎหมายการศึกษา (Education Laws)
1รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วยทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ

2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ

3. พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

4. พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด (อังกฤษ: emergency decree ใช้ได้ทั้งพระราชกำหนดและรัฐกำหนด; หรือ royal ordinance สำหรับพระราชกำหนด) เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติพระราชกำหนดไว้เรียกกฎหมายเช่นนั้นซึ่งประกาศใช้ในประเทศอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ส่วนรัฐกำหนดสำหรับประเทศอันมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

5.พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด

6. กฎกระทรวง (อังกฤษ: ministerial regulation) เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือแห่งกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด กฎกระทรวงนั้นเดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี

7. จริยธรรม คือ ความสำนึก หรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม
จรรยาบรรณ คือ กระบวนความประพฤติที่กลุ่มวิชาชีพหรือสมาคมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มหรือในสังคมนั้นยึดถือ การมีจริยธรรม เริ่มจากการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่ยังไม่เพียงพอ ต้องปฎิบัติตามจารีตประเพณี วัฒนธรรม ปรัชญาด้วย จริยธรรมและคุณธรรม คือบันไดที่เชื่อมไปสู่เป้าหมายของการเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

8. สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
สิทธิที่มีอยู่นี้จะปรากฏในหลาย ๆ ด้าน เช่น สิทธิในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆ
ของตนเอง ที่เรียกว่า สิทธิตามกฎหมายแพ่ง หรือในการเลือกตั้งบุคคลทุกคนก็มีสิทธิในการ เลือกตั้ง ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีสิทธิในร่างกาย สิทธิในการประกอบกิจการ ต่าง ๆ ตามที่ตนเองต้องการและสิทธิที่สำคัญที่สุดของบุคคลก็คือ สิทธิตามกฎหมาย

9. เสรีภาพ หมายถึง การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ  แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ย่อมถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

10.  ความยุติธรรม หมายถึง มีความเที่ยงธรรม เสมอภาคในคนทุกประเภท ไม่แบ่งแยกพวกเขาพวกเรา ไม่มีอคติ คือ ความลำเอียง ซึ่งความลำเอียงนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ 4 อย่าง คือ ลำเอียงเพราะความรัก ลำเอียงเพราะความโกรธ ลำเอียงเพราะความกลัว และลำเอียงเพราะความหลง การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งก็พิจารณาจากความรู้ ความสามารถและคุณธรรมความดี ผู้นำที่ปฏิบัติได้ดังนี้ย่อมเป็นที่รักของหมู่ชน ได้คนที่มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมความดี มาเป็นบริวารอยู่เสมอ

อ้างอิง
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2551). ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://sornapat.blogspot.com [9 พศจิกายน 2555].
 สมยศ เชื้อไทย, กฎหมายแพ่ง : หลักกฎหมายทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล , 2534
มานิตย์ จุมปา , ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป, เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม คณะนิติศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

แนะนำตัว (about me)




             About me

My Name is Waesakiyah  yusoh  pleas call me saki

My Birthday 16 /2 /1991 my age 21

My  Address is 33/1 M.2 T. Kaluvongner

A. Muang j. Narathiwat 96000

I Study English major of education.

My class: 03  ID : 5211114074

Nationality:  Thai   Religion: Islam

My e-mail  address is love16indream@hotmail.com

My Telephone number is  0847058116

My favorite food chicken curry, soup and steak

My favorite color is  red, blue and white

My hobby is Play face book, Skype, and exercise

I have five people in my family  Father , Mother
Three Brother, One Sister and I.

Method :  Where there is a will, there is a way