กฎหมายการศึกษา (Education
Laws)
1. รัฐธรรมนูญ
หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง
การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)ในความหมายอย่างแคบ
"รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ"
มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น
มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว
กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง
ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วยทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ
เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ
2.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ
ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย
เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ
บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป
และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม
โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
3.
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ
เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ
ก่อนประกาศใช้บังคับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ
ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ”
ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ
บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้
เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
4.
พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด (อังกฤษ: emergency
decree ใช้ได้ทั้งพระราชกำหนดและรัฐกำหนด; หรือ
royal ordinance สำหรับพระราชกำหนด)
เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ
พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติพระราชกำหนดไว้เรียกกฎหมายเช่นนั้นซึ่งประกาศใช้ในประเทศอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข
ส่วนรัฐกำหนดสำหรับประเทศอันมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
5.พระราชกฤษฎีกา คือ
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
และพระราชกำหนด
6.
กฎกระทรวง (อังกฤษ: ministerial
regulation) เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่งของประเทศไทย
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ
หรือแห่งกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด
กฎกระทรวงนั้นเดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี
7.
จริยธรรม คือ ความสำนึก
หรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม
จรรยาบรรณ
คือ
กระบวนความประพฤติที่กลุ่มวิชาชีพหรือสมาคมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มหรือในสังคมนั้นยึดถือ
การมีจริยธรรม เริ่มจากการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก แต่ยังไม่เพียงพอ ต้องปฎิบัติตามจารีตประเพณี วัฒนธรรม
ปรัชญาด้วย จริยธรรมและคุณธรรม
คือบันไดที่เชื่อมไปสู่เป้าหมายของการเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
8.
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม
ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
สิทธิที่มีอยู่นี้จะปรากฏในหลาย
ๆ ด้าน เช่น สิทธิในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆ
ของตนเอง
ที่เรียกว่า สิทธิตามกฎหมายแพ่ง หรือในการเลือกตั้งบุคคลทุกคนก็มีสิทธิในการ เลือกตั้ง
ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีสิทธิในร่างกาย สิทธิในการประกอบกิจการ ต่าง
ๆ ตามที่ตนเองต้องการและสิทธิที่สำคัญที่สุดของบุคคลก็คือ สิทธิตามกฎหมาย
9.
เสรีภาพ หมายถึง
การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น
ก็ย่อมถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
10.
ความยุติธรรม หมายถึง มีความเที่ยงธรรม เสมอภาคในคนทุกประเภท ไม่แบ่งแยกพวกเขาพวกเรา
ไม่มีอคติ คือ ความลำเอียง ซึ่งความลำเอียงนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ 4
อย่าง คือ ลำเอียงเพราะความรัก ลำเอียงเพราะความโกรธ
ลำเอียงเพราะความกลัว และลำเอียงเพราะความหลง
การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งก็พิจารณาจากความรู้ ความสามารถและคุณธรรมความดี
ผู้นำที่ปฏิบัติได้ดังนี้ย่อมเป็นที่รักของหมู่ชน ได้คนที่มีความรู้ ความสามารถ
มีคุณธรรมความดี มาเป็นบริวารอยู่เสมอ
อ้างอิง
ปรีดี
เกษมทรัพย์. (2551). ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://sornapat.blogspot.com [9 พศจิกายน 2555].
สมยศ เชื้อไทย, กฎหมายแพ่ง : หลักกฎหมายทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 2,
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล , 2534
มานิตย์
จุมปา , ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป, เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2540.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น