วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550


กิจกรรมที่ 2
       ให้นักศึกษาอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา   คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล   รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ความเสมอภาค
มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา ๔๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิตย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
1. การศึกษามีกี่รูปแบบ
2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
3. ผู้ปกครองต้องจัดให้บุคคลซึ่งอยุ่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับกี่ปี
4. รัฐธรรมนูญปัจจุบันมีกี่หมวดกี่มาตรา
5. รัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นบันที่เท่าไร
6.ประธานกรรมการคณะกรรมการสภาการศึกษาคือ
7.ผู้แต่งตั้งประธานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) คือใคร
8. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู ฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม คือ พ.ศ.ใด
10. พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูฯฉบับที่ 2 มีผลใช้บังคับเมื่อใด

.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
    เพื่อความเข้าใจอันดีในเรื่องนี้ จำเป็นต้องมีความถึงปฐมเหตุที่มนุษย์ไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ มนุษย์มีเหตุมีผล มีความอยากรู้อยากเห็น อยากรู้ว่าทำไมและอย่างไร คำอธิบายเกี่ยวกับสภาพธรรมชาติของมนุษย์และความจำเป็นที่มนุษย์เพื่อให้มนุษย์และมนุษย์สามารถนำไปปกครองสิทธิเสรีภาพของเราได้ ในชีวิตประจำวัน

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
      รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะที่ได้ผ่านกระบวนการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ ปรับปรุงแก้ไข และลงประชามติจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง แต่จากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นมาตลอดในช่วง 34 ปีที่ผ่านมา ทางออกหนึ่งของปัญหาที่พูดถึงกันมากในสังคม คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าว โดยต่างฝ่ายก็ต่างแสดงเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป
       ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฎิรูปการเมืองและการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีข้อเสนอต่อรัฐบาลให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ ที่ยังเป็นประเด็นปัญหาใน 6 ประเด็นหลัก ดังนี้
1.การทำสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา (มาตรา 190)
 2. ที่มาของ ส.ส. (มาตรา 93 -98)
3. การดำรงตำแหน่งทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 265)
4. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 266)
5. ที่มาของ ส.ว. (มาตรา 111 121)
6. การยุบพรรคการเมือง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมือง (มาตรา 237)

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
       การสร้างดุลถ่วงระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารเป็นความจำเป็นที่จะต้อง ทำให้มีขึ้น หากปล่อยให้รัฐสภาตกอยู่ในภายใต้การครอบงำและแทรกแซงของรัฐบาลไป เรื่อยๆ สุดท้ายรัฐสภาก็จะหมดความสำคัญ ซึ่งนอกจากจะขัดต้อเจตจำนงของการมีรัฐสภา แล้ว ยังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอีกด้วย เพราะโดยหลักแล้ว รัฐสภาต้องควบคุม รัฐบาลให้ได้ ถ้าควบคุมไม่ได้ ประชาชนก็จะเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อขับไล่เอง และในที่สุด รัฐสภาก็จะอยู่ไม่ได้ ด้วยเหตุที่นายกรัฐมนตรีแกล้งยุบสภาหรือไม่ก็ถูกทหารเข้าปฏิวัติ ยึดอำนาจ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น